แชร์

การใช้งาน หุ่นยนต์ส่งของ ข้อควรระวัง สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

การใช้งาน หุ่นยนต์ส่งของ การติดตั้ง ข้อควรระวัง สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์สำหรับการเดินในไลน์ผลิต การขนย้ายสิ่งของต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรม

โรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้เริ่มนำหุ่นยนต์ขนาดเล็ก เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัทหรือองค์กร หุ่นยนต์ชนิดนี้จะมีความคล่องตัวสูง รวมถึงราคาที่ประหยัดคุ้มค่าแก่การลงทุน สามารถแบ่งเบาช่วยเหลือพนักงานในการต้องแบกน้ำหนักหรือเดินไปมาทั้งวัน ทำให้มีเวลาไปปฎิบัติหน้าที่ในส่วนอื่นๆให้เกิดประสิทธิภาพแก่บริษัทหรือองค์กรได้ดียิ่งขึ้น

หุ่นยนต์ส่งของ ในปัจจุบันสามารถเดินต่อเนื่องได้ถึงวันละ 9ช.ม. คิดเป็นระยะทางก็ประมาณ 20-30 กิโลเมตร ต่อการชาร์จ1ครั้ง โดยสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 1เมตรต่อวินาทีแต่ถ้าหากเป็นการใช้งานทั่วไปแบตเตอรี่ก็สามารถใช้งานได้ถึง 12ช.ม. ต่อการชาร์จ1ครั้ง สำหรับการชาร์จในแต่ละครั้งก็ใช้เวลาเพียง 4ช.ม. สำหรับถาดวางหรือชั้นวางสามารถรับน้ำหนักได้ชั้นละ 10กิโลกรัม และรับน้ำหนักรวมได้ถึง 40กิโลกรัม หากมองถึงความคุ้มค่าของการใช้งานแล้วถือเป็นอีกทางเลือกที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งสำหรับบริษัทหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่จะนำ หุ่นยนต์ส่งของ นี้มาประยุกต์ใช้กับงานของตนเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพนักงานและเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรให้ดียิ่งขึ้น

การติดตั้งหุ่นยนต์

เจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งมาร์คเกอร์ (marker) บนเพดานเพื่อใช้ในการระบุตำแหน่งของตัวหุ่นยนต์ในแผนที่ จากนั้นจะนำหุ่นยนต์เดินสแกนมาร์คเกอร์ วาดเส้นทางรวมถึงสิ่งกีดขวางต่างๆ เพื่อทำแผนที่การเดินให้ครอบคลุมบริเวณพื้นที่ใช้งาน รวมถึงกำหนดจุดจอดต่างๆ ตามความต้องการ

หลักการทำงานของหุ่นยนต์

หุ่นยนต์ประเภทนี้จะมีกล้อง Vision ทางด้านบน ไว้สแกนหาแผ่นมาร์คเกอร์ที่ใช้ในการระบุตำแหน่งของหุ่นยนต์และทำงานร่วมกับเลเซอร์ Lidar ทางด้านหน้าในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางในแนวราบ รวมไปถึงมีกล้อง RGBD ที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุที่อยู่สูงกว่าเลเซอร์ Lidar

ข้อจำกัดและข้อควรระวัง ในการใช้งานหุ่นยนต์

ข้อจำกัดในการใช้งาน
หุ่นยนต์ส่งของประเภทนี้เหมาะกับสถานที่แบบปิด (indoor) และเป็นพื้นเรียบเท่านั้น และเพดานด้านบนต้องมีความสูงจากพื้นไม่เกิน8เมตรสำหรับการติดตั้งมาร์คเกอร์ (marker) เพื่อใช้ในการบอกระบุตำแหน่งของตัวหุ่นยนต์

ข้อควรระวังในการใช้งาน
กรณีที่ใช้ Lidar ในการเดินโดยไม่มีการติดตั้ง มาร์คเกอร์ (marker) มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานหากพื้นที่หรือตำแหน่งสิ่งกีดขวางมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้หุ่นยนต์สับสนในเส้นทางเดินและเกิดอันตรายร้ายแรงได้ 

หุ่นยนต์ที่มีการติดตั้งด้วย มาร์คเกอร์ (marker) ทางด้านบน สามารถทำงานได้แม้ว่าพื้นที่หรือตำแหน่งที่สแกนมีการเปลี่ยนแปลง และจะใช้ Lidar ด้านหน้าเพื่อช่วยในการตรวจจับสิ่งกีดขวาง รวมถึงมีความแม่นยำในการจอดที่ดีกว่า

หุ่นยนต์เป็นเพียงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งอาจมีการรวนหรือ Error เเบบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดอื่นๆได้ ดังนั้นในการใช้งานแบบจริงจังและการใช้งานต่อเนื่องในระยะยาวควรคำนึงถึงข้อควรระวังเหล่านี้ด้วย

การรับประกันและบริการหลังการขาย

โดยทั่วไปจะมีการรับประกันและการตรวจเช็คตามรอบให้ รวมถึงการดูแลพิเศษต่างๆตามแต่ผู้ขายกับผู้ซื้อจะตกลง

 


บทความที่เกี่ยวข้อง
หุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร 2025
แนะนำหุ่นยนต์ Robot สำหรับธุรกิจร้านอาหารที่ต้องการนำเทคโนโลยี่หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการจัดการระบบการจัดส่งให้ดีขึ้น โดยให้ความสำคัญที่การใช้งานเป็นหลัก
amr vs agv
ทำไมเราต้องใช้พนักงานในการเคลื่อนย้าย ขนย้ายต่างๆ ในเมื่อเราสามารถใช้ระบบอัตโนมัติจัดการงานเหล่านีได้ ช่วยให้พนักงานได้ไปทำสิ่งที่มีมูลค่าสูงกว่า
Factory Robot - หุ่นยนต์ส่งของ
หุ่นยนต์ส่งของในโรงงานอุตสาหกรรม Industrial and Factory Delivery Robot ในปี 2025 ที่น่าจับตามอง ช่วยในเรื่องการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพ
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ